อิปซอสส์ ชี้ ก้าวสู่ยุคโลกไร้ระเบียบ เผยรายงานการศึกษาชุดใหญ่ “อิปซอสส์ โกลบอล เทรนด์ 2023: โลกแห่งวิกฤตและภัยพิบัติ” กับ 12 เทรนด์โลก พร้อมชุดเครื่องมือ ช่วยภาครัฐ และภาคธุรกิจ ให้แบรนด์รับมือ Polycrisis
3 ใน 4 ของประชากรโลกเรียกร้องภาครัฐและการบริการสาธารณะให้ความช่วยเหลือน้อยไปคนไทย 80 % กังวลว่ารัฐบาลและบริการสาธารณะจะไม่ดูแลประชาชนในอนาคต และ 50% ไม่ไว้วางใจผู้นำทางธุรกิจที่จะพูดความจริง พร้อมเปิดสัมมนาออนไลน์ฟรี “Global Trends–Thailand Webinar”30 มีนาคม 2566 ลงทะเบียนด่วน https://www.ipsos.com/en-th/ipsos-global-trends-2023-thailand-webinar
บริษัท อิปซอสส์ จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค ผู้ให้บริการงานวิจัยที่ทำการออก แบบเฉพาะรายแบบครบวงจร Customized One Stop Research Solution Service โดย นางสาวอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ และนางสาวพิมพ์ทัย สุวรรณศุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ได้เปิดเผยถึงรายงานการศึกษาชุดใหญ่ “อิปซอสส์ โกลบอล เทรนด์ 2023” (Ipsos Global Trend 2023) ชี้ให้เห็นถึงภาวะวิกฤตโลก ก้าวเข้าสู่ ยุคโลกแห่งความไร้ระเบียบ (A New World Disorder) รับมือกับความเสี่ยง และวิกฤต Polycrisis ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รายงานชุดนี้เป็นรายงานชุดการศึกษาที่ใหญ่ที่สุด ที่อิปซอสส์เคยนำเสนอมา โดยทำการสัมภาษณ์ถึง 48,000 คน ใน 50 ตลาดสำคัญ ครอบคลุม 70% ของประชากรโลก และ 87% ของ GDP รวมถึงตลาดเอเชียถึง 11 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม โดยทำการสำรวจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของความคิดเห็นของประชากรในแต่ละปี
นางสาว พิมพ์ทัย เปิดเผยว่า “รายงานชุดนี้ อิปซอสส์ ทุ่มทำการศึกษาอย่างหนัก เพื่อให้แม่นยำที่สุด และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ 12 เทรนด์โลก ได้เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ปี 2557 โดยใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงและมุมมองจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านแนวโน้ม และการมองการณ์ไกลในการทำการวิเคราะห์ โดยครอบคลุมเนื้อหาสำคัญในเรื่องของกระแสประชานิยม การสร้างแบรนด์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยี ข้อมูลและความปลอดภัย การเมืองและประเด็นทางสังคม โดยได้ทำการอัพเดทการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยสรุปภาพรวม ดังนี้
อินโดนีเซีย กังวลสูงสุดเรื่องความช่วยเหลือจากภาครัฐและการบริการสาธารณะ ขณะที่ไทยอยู่ในระดับต้นๆ ในจำนวน 50 ประเทศที่สำรวจผลการศึกษา ชี้ให้เห็นถึงการก้าวเข้าสู่โลก Polycrisis ที่เต็มไปด้วยวิกฤตในหลากหลายด้าน รายงานอิปซอสส์ ชี้ให้เห็นถึงความคิดเห็นของประชากร ด้วยสถิติกว่า 74% เห็นพ้องกันว่ารัฐบาลและการบริการสาธารณะของประเทศให้ความช่วยเหลือประชาชนน้อยเกินไป โดยตลาดในภูมิภาคเอเชีย มีความกังวลใจสูงกับการเผชิญกับความหายนะด้านสิ่งแวดล้อม โดย อินโดนีเซีย กังวลเป็นอันดับ 1 ในอัตรา 92% เวียดนาม 91% ฟิลิปปินส์ 88% ไทย 86% เกาหลี 85% และอินเดีย 85% ทั้งนี้ ชาวเอเชียส่วนใหญ่เชื่อว่าโลกาภิวัฒน์เป็นมาตรการที่ดีสำหรับประเทศของตน
นอกจากในส่วนของบริษัท รัฐบาล และระดับบุคคล ต่างเป็นที่คาดหวังให้มีบทบาทในการร่วมกันแก้ไขวิกฤตการณ์เหล่านี้ และช่วยให้ผู้คนสามารถรับมือได้ แต่อย่างไรก็ตามการที่ไม่ได้รับความไว้วางใจที่กลายเป็นอุปสรรคสำคัญ โดยคนไทย 80 % กังวลว่ารัฐบาลและบริการสาธารณะจะไม่ดูแลประชาชนในอนาคต และ 50% ไม่ไว้วางใจผู้นำทางธุรกิจในการพูดความจริง
“ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง-แนวคิด อิปซอสส์” (Ipsos’s Theory of Change) กับกลไก Macro Forces Shifts และ Signals
นางสาวพิมพ์ทัย เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “อิปซอสส์ได้นำผลการศึกษา พัฒนาเป็น “Ipsos’s Theory of Change” ภายใต้แนวคิด 3 ด้าน คือ Macro Forces มาโคร ฟอร์ซ จากการทำวิจัยขั้นทุติยภูมิ ประกอบด้วย 6 กรอบแนวคิด Shifts – การเปลี่ยนแปลง ที่ได้จากการทำแบบสอบถาม และ Signals สัญญาณที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลง อิงจากการสังเกตในท้องถิ่น
โดย Marco Forces ประกอบด้วย 6 แนวคิด ที่เน้นด้านสังคม แรงกระตุ้นทางเทคโนโลยี โอกาสและความไม่เสมอภาค ภาวะฉุกเฉินของวิกฤตสิ่งแวดล้อม ความแตกแยกทางการเมือง และสุขภาพดีถ้วนหน้า ที่เป็นปัจจัยส่งผลกระทบต่อสังคม ตลาด และผู้คนในวงกว้าง ทั้งในระดับประเทศ และ ข้ามพรมแดน Societies in Flux / Tech-Celeration / Inequalities and Opportunities / Environmental-Emergencies / Political-Splintering และ Well-rounded Well-being
12 เทรนด์โลก กับ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ของอิปซอสส์ Ipsos’s Theory of Change 2023 กับ 12 เทรนด์โลก รับมือ ภาวะวิกฤต
ทั้งนี้ 12 เทรนด์สำคัญ ที่อิปซอสส์ทำการศึกษา ประกอบด้วยความเป็นปรปักษ์ของสภาพภูมิอากาศ (Climate Antgonism) การคำนึงด้านสุขภาพ (Conscientious Health) ความถูกต้อง สำคัญดั่งราชา (Authenticity is King) ภาวะวิกฤตด้านข้อมูล (Data Dilemma) มิติด้านเทคโนโลยี (The TECH Dimension) จุดสูงสุดของโลกาภิวัฒน์ (Peak Globalisation) โลกที่ถูกแบ่งแยก (A Divided World) จุดเปลี่ยนของทุนนิยม (Capitalism’s Turning Point) การโหยหาและยึดเหนี่ยวกับสิ่งเดิม (The Enduring Appeal for Nostalgia) ปฏิกิริยาต่อความไม่แน่นอนและความไม่เท่าเทียม (Reactions to Uncertainty and Inequality) การมองหาความเรียบง่าย (Search for Simplicity) ตัวเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพ (Choices to Healthcare)
อิปซอสส์ ชี้ โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของโลกแห่งความไร้ระเบียบ (New World Disorder) ที่เต็มไปด้วยวิกฤตและภัยภิบัติ
วิกฤตการณ์หลายมิตินี้ ไม่ได้เป็นเพียงสถานการณ์ที่คุณต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆ หลายครั้งเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานการณ์ส่งผลที่น่าอันตรายยิ่งกว่า อิปซอสส์ จึงได้ศึกษาประเด็นหลักที่ทำการสำรวจและประเมินผล ได้ดังนี้
วิกฤตเศรษฐกิจกระทบกระเป๋าเงินและจิตใจ
(An economic crisis hitting our wallets and hearts)
- คนไทยอยู่ในสัดส่วนที่รู้สึกตนเองยังคงต้องดิ้นรนต่อสู้ สถิติความยากลำบากด้านการหารายได้ โดยเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 34% ขณะที่ไทย อยู่ในอัตรา 27% ส่วนประเด็นที่ผู้คนยังคงมีความกดดันกับรายได้ที่ใช้จ่ายได้ (Disposable Income) 53% กังวลปัญหาเงินเฟ้อ 48% กังวลรายได้ตนเองจะไม่พอใช้
วิกฤตความตึงเครียดระหว่างโลกกับท้องถิ่น
(A crisis of Tension with Global vs Local)
- แม้ว่าหลายคนจะพูดถึง de-globalization แต่สถิติอย่างน้อย 6 ใน 10 คนทั่วโลกยังเชื่อว่าโลกาภิวัตน์ ยังเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเขาและประเทศของพวกเขา โดยอัตราเฉลี่ยในอัตรา 66% ทั่วโลกที่เห็นว่าดีสำหรับประเทศของตน ส่วนภาพรวมของประเทศไทย สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลก อยู่ที่ 72% ขณะที่ 62% รู้สึกดีในส่วนของตัวเขาเอง สำหรับประเทศไทย ในประเด็นที่ว่าคนส่วนใหญ่ยังคงยินดีที่จะซื้อของในไทย มากกว่า สินค้านอก อยู่ในอัตรา 73% และเป็นที่น่าสังเกตว่า 75% พอใจในช่องทางออนไลน์ ที่เสนอเงื่อนไขให้ดีกว่าช่องทางปกติ
ต้องการให้มีใครมาช่วยแก้ปัญหาสภาวะวิกฤตของดินฟ้าอากาศ
(A climate crisis we want someone to solve)
- 8 ใน 10 คน มีความเห็นตรงกันว่า เรากำลังมุ่งหน้าสู่ภัยพิบัติด้านสภาวะแวดล้อม เว้นแต่ว่าผู้คนต้องมีการเปลี่ยนนิสัยอย่างเร่งด่วน โดยมีอัตราสูงถึง 80% ขณะที่ ภาพรวมของไทย สูงกว่าอัตราเฉลี่ยโลก ที่ 86% ขณะเดียวกันภาพรวมของอัตราเฉลี่ยโลก 75% ยังเชื่อว่าเหล่านักวิทยาศาสตร์ขณะนี้ยังไม่เห็นทางที่จะแก้ไขในจุดนี้ได้
บทบาทของแบรนด์ในการสร้างความต่าง
(The role for Brands to make a difference? )
- ประชาชนเห็นว่าวิธีการต่างๆ ในปัจจุบันของผู้นำธุรกิจ ไม่ได้ทำเพื่อคนไทย 80% ของคนไทยกังวลว่า รัฐบาลและบริการสาธารณะจะไม่ดูแลอนาคตของพวกเขา ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของ APAC ถึง 9% โดย 36% ของคนไทย คิดว่ารัฐบาลแห่งชาติดี และค่อนข้างดี ในการวางแผนระยะยาว
- ถึงแม้การแบ่งแยกจะมีอยู่ทั่วโลก แต่การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้คนคาดหวังที่จะเห็นความชัดเจนของแบรนด์และธุรกิจ โดย 81% รู้สึกว่า มีความเป็นไปได้ที่แบรนด์ที่ให้ความสนับสนุนที่ดี จะส่งผลให้สามารถทำเงินได้ในเวลาเดียวกัน
- 71% ยินดีซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบ ถึงแม้จะต้องจ่ายมากกว่าก็ตาม
- 57% ยอมจ่ายแพงขึ้นให้กับแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์โดนใจ
- 53% ไม่เชื่อว่าผู้นำธุรกิจจะพูดความจริง แต่ในส่วนของไทยอยู่ในอัตรา
- 50% ที่ไม่เชื่อใจ
- และ 74% ประชากรโลกรู้สึกว่า รัฐบาลและบริการสาธารณะ ยังทำน้อยมากให้กับผู้คนสำหรับอนาคตอันใกล้นี้
- โดยมีสถิติที่ต้องการให้ธุรกิจแสดงความจริงใจในแต่ละประเทศ ดังนี้ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ในสัดส่วน 78%, 71%, 64%, 60%, 56% และ 50% ตามลำดับ
ภาวะวิกฤตด้านข้อมูล และข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี
(Data Dilemmas & The Tech Dimension)
- ในตลาด APAC มีความกลัวในจุดนี้ ในระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ 60% โดยเฉลี่ย มีความกลัวว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาทำลายคุณภาพชีวิต และไทยอยู่ในระดับเดียวกับอัตราเฉลี่ยที่ 61% ส่วน 81% รู้สึกว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะสูญเสียความเป็นส่วนตัวในอนาคต เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการควบคุมเทคโนโลยีขนาดใหญ่ โดย 6 ใน 10 กลัวว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังเข้ามาทำลายคุณภาพชีวิตของเรา ทั้งนี้ ผู้คนในเอเชียพูดเหมือนกันหมดว่า จินตนาการไม่ได้เลย หากอยู่โดยปราศจากอินเตอร์เน็ต
ชาวเอเชียเองก็ติดแกดเจ็ต และไม่สามารถจินตนาการถึงชีวิตที่ปราศจากอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับผู้คนทั่วโลก 71% อยู่ไม่ได้ถ้าขาดอินเตอร์เน็ต ส่วนคนไทยอยู่ในอันดับ 10 ในอัตรา 73%
ความท้าทาย และแนวทางการรับมือของแบรนด์สินค้า ต่อวิกฤต 4 ด้านหลักในโลกแห่งวิกฤตและภัยพิบัติ Polycrisis
ความท้าทายหลัก 4 ประการ ที่ประชากรกำลังเผชิญ และองค์กรและหน่วยงาน พร้อมชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการดำเนินการ
1. วิกฤตเศรษฐกิจกระทบกระเทือนกระเป๋าสตางค์ของผู้คน มีโอกาสที่จะคิดใหม่เกี่ยวกับโครงสร้างและวัตถุประสงค์ของธุรกิจและระบบ – เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
2.ผู้บริโภคต้องการให้มีใครมาช่วยแก้ปัญหาสภาวะวิกฤตของดินฟ้าอากาศ ไม่ใช่แค่เพียงออกนโยบาย แต่เป็นการลงมือทำ
3.หน้าที่ของธุรกิจและองค์กรที่มีบทบาทในการเชื่อมช่องว่างระหว่างความคาดหวังของผู้บริโภค และการตอบสนองของรัฐบาล
4.ความตึงเครียดระหว่างโลกกับท้องถิ่น ด้วยพลังอำนาจของแบรนด์ระดับโลกที่มีจุดยืนเฉพาะ ที่พวกเขาสามารถเชื่อมโยงช่องว่าง
สัมมนาออนไลน์ ฟรี “Global Trends–Thailand Weminar” 30 มีนาคม 2566 ลงทะเบียนด่วน
ยิ่งกว่านี้ ผู้สนใจสามารถขอรับรายงานชุดเต็มได้ที่ Sirada.Kulphaisal@Ipsos.com และเพื่อให้ผู้สนใจเกิดประโยชน์สูงสุด อิปซอสส์จะจัดสัมมนาพิเศษ “Global Trends–Thailand Webinar” ขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ เจาะลึกรายงานชุดใหญ่ดังกล่าวในวันที่ 30 มีนาคม 2566
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ https://www.ipsos.com/en-th/ipsos-global-trends-2023-thailand-webinar หรือสอบถามเพิ่มเติม ฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท อิปซอสส์ จำกัด
Polycrisis กำลังเป็นความท้าทายของพลโลก ทั้งในเง่ของภูมิรัฐศาสตร์ โลกร้อน เงินเฟ้อ เศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว สงครามก็ทำให้ทุกอย่างแพงขึ้น ปัญหาการเมือง ปัญหาทางด้านโรคระบาด ปัญหาทางด้านสังคม ปัญหาทางด้านสุขภาพ ที่ส่อแววว่าจะเลวร้ายลงไปทุกปี และรายงานการศึกษาชุด “Ipsos Global Trend 2023” และ .”Ipsos’s Theory of Change” นี้ เป็นแนวโน้มที่ชี้ให้เห็นถึงวิกฤตการณ์ที่กำลังเผชิญ และอาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ เห็นภาพชัดเจนและวางแผนได้ดีขึ้น ทั้งด้านดี และด้านร้ายให้เกิดประสิทธิสูงสุดเพื่อการอยู่รอด รายงานการศึกษานี้ไม่ได้เป็นการทำนายอนาคต แต่เป็นการให้ข้อมูลอันทรงคุณค่าให้คุณเตรียมการรับมือได้อย่างถูกต้อง