วันศุกร์, ธันวาคม 6, 2024
BUSINESS

เซ็นทรัลพัฒนา ร่วมกับสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) จัดงาน “SACIT Corner ปี 2” รวมสุดยอดงานคราฟต์ทั่วประเทศ ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น เดินหน้าผลักดันผลงานหัตถกรรมฝีมือคนไทย ให้ก้าวไกลสู่สากล

 

นายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เปิดเผยว่า “สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ได้ริเริ่มนโยบาย SACIT Corner มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 โดยเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ในหลากหลายรูปแบบทั้งชิ้นงานตั้งโชว์ในแกลเลอรี่  ชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ใช้ในบ้าน ชิ้นงานของที่ระลึก และชิ้นงานใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันที่มีรูปแบบทันสมัย มีฝีมือและอัตลักษณ์ของไทย และนำไปจำหน่ายที่ SACICT Corner ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว คนไทย คนต่างชาติรวมถึงคนรุ่นใหม่เข้ามาเห็นงานหัตถศิลป์ไทยมากขึ้น

 

SACIT Corner ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อต่อยอดจากความสำเร็จของการทดลองตลาดหัตถศิลป์เมื่อปีที่ผ่านมา  โดยในปี 2566 นี้ ได้เลือกศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนา เป็นพื้นที่จัดกิจกรรม “SACICT Corner ปี 2” เนื่องจากเป็นศูนย์การค้า โมเดิร์น เทรด (Modern Trade) ที่มีพื้นที่สำคัญใจกลางเมืองย่านธุรกิจ มีฐานลูกค้าเดิมจากปีที่ผ่านมา และเป็นการสานต่อความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ “SACIT Corner ปี 2” และเซ็นทรัลพัฒนา จึงได้นำสุดยอดสินค้าหัตถศิลป์ที่ผ่านการคัดสรรมาจำหน่ายที่เซ็นทรัล 3 สาขา ในกรุงเทพมหานคร โดยแต่ละสาขาจะมีผู้ประกอบการ 30 ราย มีสินค้ามากกว่า 1,000 รายการ ราคาจับต้องได้ และมีการสาธิตงานหัตถศิลป์ที่หาชมยากจำนวน 16 ชิ้นงาน สินค้าที่นำมาจำหน่าย มีทั้งงานผ้า เครื่องจักสาน  เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องหนัง เครื่องโลหะ เครื่องใช้ ของตกแต่งบ้าน สินค้ารักษ์โลกที่ใช้วัสดุท้องถิ่นธรรมชาติ  งานดั้งเดิมที่หาชมยากมูลค่าคู่ควรแก่การสะสม ของที่ระลึกและอื่นๆ จากครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ชุมชนหัตถกรรมและสมาชิกของ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย

 

สุดยอดสินค้าหัตถศิลป์ไทยกว่า 1,000 รายการ ที่นำมาจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีดีไซน์ มีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำไปใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน จะซื้อหาไว้ใช้เองหรือเป็นของฝากของขวัญก็ดี เพราะเป็นสินค้าที่ออกแบบไม่ซ้ำใครมีดีไซน์เฉพาะตัว และไม่ต้องเดินทางไกลไปซื้อหาถึงแหล่งผลิตในต่างจังหวัด เสมือนยกงานคราฟต์มาไว้ที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 1) กลุ่มสินค้างานดั้งเดิม ที่หาชมได้ยากมีมูลค่าคู่ควรแก่การสะสม อาทิ งานผ้าปัก จากแสงแก้วล้านนา จังหวัดลำพูน งานเครื่องทองเหลืองโบราณ จากร้านวิเศษศิลป์, เครื่องลงยาสีโบราณ 2) กลุ่มสินค้ารักษ์โลก หรือ BCG  แนวแฟชั่น lifestyle ที่เน้นวัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่น อาทิ กระเป๋าผ้า eco print จากร้าน sk by sakky, กระเป๋าจักสาน จากวัสดุธรรมชาติ “เตยปาหนัน” จาก Propran 3) กลุ่มสินค้าของที่ระลึก อาทิ แบรนด์ Zhowcase, East flowers, THANSUDA, เรียวไผ่ตง, Nineshop, เพนวินสไมล์ และแบรนด์ต่างๆ อีกมากมาย อาทิ เอกฉันท์, Lukcytoyou, Detail, Fulame, ใส่สวย, Chaksarn desing, เบญจรงค์รักษ์ไทย, Salete, ห่มรัก, บุญยรัตน์”

 

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เซ็นทรัลพัฒนา ได้เดินหน้าวิสัยทัศน์ Imagining better futures for all สร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน ด้วยบทบาทของ ‘Place Maker’ นักพัฒนาพื้นที่แห่งอนาคต พร้อมการดูแล People เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชน เราได้ ร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการใช้พื้นที่ของศูนย์การค้าจัดงานต่างๆที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประกอบการงานทุกแขนงที่เป็นงานฝีมืออย่างงานหัตถศิลป์หัตถกรรมที่สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยรวบรวมร้านค้าดีมีคุณภาพมาจัดจำหน่ายในงานนี้รวมทั้งจะช่วยทำการประชาสัมพันธ์งานฝีมือของคนไทย ให้ยกระดับสู่สากลต่อไปเราได้ร่วมกับสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย จัดงานนี้ เซ็นทรัลพัฒนาต้อง ขอขอบคุณ สศท. และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของช่องทางการตลาด เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าแนวคราฟต์ที่มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อร่วมอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมไทยให้คงอยู่สืบไป และนำงานหัตถศิลป์สู่กลุ่มเป้าหมายของ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย และ เซ็นทรัลพัฒนา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนในการกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เกิดการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการมีรายได้ เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นที่ต่อเนื่องพบกับ

 

งาน “SACIT Corner ปี 2” งานที่รวบรวมผู้ประกอบการ 30 ราย มีสินค้ามากกว่า 1,000 ชิ้น ให้เลือกซื้อเลือกชม และมีกิจกรรมสาธิตขั้นตอนการผลิตงานคราฟต์ที่หาชมได้ยาก ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 1 ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 14 พ.ค. 66 และเซ็นทรัล บางนา ชั้น 1 ตั้งแต่ วันที่ 1 – 31 ก.ค. 2566”