ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เผยเป้าหมาย แผนปฏิบัติการสำหรับความยั่งยืนภายในปีงบประมาณ 2030 สร้าง LifeWear เพื่อเป็นนิยามใหม่ของวงการ และเร่งการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ เพื่อสร้างความยั่งยืน และการเติบโตในระยะยาว
ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing) กำลังพัฒนาแนวคิดไลฟ์แวร์ (LifeWear) เพื่อเป้าหมายการเป็นเสื้อผ้าในชีวิตประจำวัน ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อสร้างเครื่องแต่งกายที่ไม่เพียงแต่เน้นคุณภาพ การออกแบบ และราคา แต่ยังตรงตามคำจำกัดความของ “เสื้อผ้าที่ดี” จากมุมมองของสิ่งแวดล้อม ผู้คน และสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญานี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้กำหนดเป้าหมายภายในปีงบประมาณ 2030 และแผนปฏิบัติการสำหรับพัฒนาความยั่งยืนหลากหลายรูปแบบ ฟาสต์ รีเทลลิ่งกรุ๊ปทั้งหมดที่ใช้แนวคิด LifeWear จะเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่ที่ครอบคลุมทั้งความยั่งยืนและการเติบโตของธุรกิจ
ร่วมกับวัตถุประสงค์ของโครงการ Ariake เพื่อผลิตและขายเฉพาะเครื่องแต่งกายที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง ฟาสต์ รีเทลลิ่งเน้นย้ำถึงความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง และการขาย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและของเสียอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ในขณะเดียวกัน บริษัทจะปกป้องสิทธิมนุษยชนในทุกกระบวนการ สร้างห่วงโซ่อุปทานที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าด้วยความไว้วางใจ นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่งจะพัฒนาบริการ เพื่อการนำเสื้อผ้ากลับมาใช้ใหม่ และ การรีไซเคิลเพื่อยืดอายุและตลอดจนเทคโลยีในการยืดอายุการใช้งานและอรรถประโยชน์ของ LifeWear หลังการซื้อ นอกจากนี้ เพื่อช่วยค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้ขยายการริเริ่มทั่วโลกสำหรับการสนับสนุนทางสังคมและความหลากหลายผ่านธุรกิจเครื่องแต่งกาย ด้วยความคิดริเริ่มเหล่านี้ บริษัทจะเพิ่มคุณค่าของ LifeWear และพัฒนาปรัชญาด้านความยั่งยืน เพื่อส่งมอบเสื้อผ้าที่ลูกค้าจะชื่นชอบและสามารถใช้งานเป็นเวลานาน
โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กล่าวถึงแผนดังกล่าวว่า “การจัดหาเสื้อผ้าที่ลูกค้าสามารถใช้ได้เป็นเวลานานเป็นเป้าหมายของธุรกิจของเรามาหลายปี เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ทั่วโลกเริ่มปรากฏชัดขึ้น เราจึงได้พัฒนาปรัชญาของเราต่อไป และกำลังดำเนินมาตรการเพื่อแสดงให้โลกเห็นถึงอนาคตของเสิ้อ ในขณะที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดสังคมที่ยั่งยืน ด้วยการก้าวไปข้างหน้าผ่านการสนับสนุนและความร่วมมือในวงกว้างจากลูกค้าและบริษัทพันธมิตร ฟาสต์ รีเทลลิ่งจะสร้าง “อุตสาหกรรมใหม่” ของ LifeWear ให้พร้อมให้บริการแก่ลูกค้ามากขึ้น เราตั้งเป้าที่จะดำเนินธุรกิจในลักษณะที่จะสามารถปรับปรุงชีวิตของผู้คนและสังคมทั่วโลกได้”
เป้าหมายและแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืนในปีงบประมาณ 2030
■ โครงการสำคัญ: ผลิตเสื้อผ้าที่ดี ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่นำสมัย เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา
ภายใต้นโยบายดังกล่าว ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ถือเอาประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมนำเป้าหมายจากความตกลงปารีส (Paris Agreement) มาใช้ในการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050
ในเดือนกันยายนของปีนี้ ทางบริษัทได้ทำการประกาศเป้าหมายต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปีงบประมาณ 2030 ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ได้รับการอนุมติโดย Science-Based Targets by the SBT initiative (SBTi).
เป้าหมายและแนวปฏิบัติเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ลดการใช้ไฟฟ้าที่หน้าร้านผ่านโครงการประหยัดพลังงานต่างๆ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะประหยัดได้ประมาณ 40% ที่หน้าร้านโรดไซด์และลดลง 20% สำหรับร้านค้าในห้าง
- ภายในปีงบประมาณ 2021 ร้านยูนิโคล่ จำนวน 8 ร้านในญี่ปุ่นได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) Gold Level Certification ซึ่งเป็นระบบการประเมินอาคารสีเขียวที่ใช้อย่างแพร่หลายที่สุดในโลก
- พัฒนารูปแบบร้านค้าแบบใหม่ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดตัวร้านค้ารูปแบบนี้ในช่วงปี 2023
- เปลี่ยนจากการใช้ไฟฟ้าในร้านค้าของ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง และสำนักงานใหญ่ทั่วโลกมาใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปีงบประมาณ 2030 ซึ่งในเดือนสิงหาคม 2021 ร้านยูนิโคล่ จำนวน 64 แห่งใน 9 ประเทศในยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว และภายในสิ้นปี 2021 ทุกๆ ร้านในอเมริกาเหนือและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเปลี่ยนเช่นกัน
เป้าหมายสำหรับกระบวนการผลิตและจำหน่าย:
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% ภายในปี 2030 (เมื่อเทียบกับปี 2019)
- ด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับโรงงานคู่ค้าของบริษัท ทำให้ฟาสต์ รีเทลลิ่งสามารถวางแผนกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการผลิตของบริษัท ซึ่งนับเป็นการปล่อยก๊าซมากถึง 90% ของการประกอบธุรกิจของบริษัท
- ภายในเดือนพฤศจิกายน 2021 บริษัทได้ระบุเงื่อนไขและประเด็นของโรงงานคู่ค้ารายใหญ่ๆ ที่ผลิตสินค้าของ ยูนิโคล่ และ GU มากถึง 90% รวมถึงการวางแผนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ การรกำจัดคาร์บอน และการใช้พลังงานหมุนเวียน
- จัดตั้งกระบวนการและโครงสร้างสำหรับพนักงานจากส่วนงานผลิตและความยั่งยืนถึง 150 คน เพื่อดูแลและบริหารโครงการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป้าหมายสำหรับผลิตภัณฑ์:
เพิ่มสัดส่วนประมาณ 50% ของวัสดุที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของยูนิโคล่ เป็นวัสดุรีไซเคิลภายในปีงบประมาณ 2030
- นับตั้งแต่ปี 2019 ยูนิโคล่ได้เริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล และคอลเลคชั่น Spring/Summer 2022 จะมีเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ถูกรีไซเคิลจากขวดพลาสติก PET ประมาณ 15%
o 2019SS: ผลิตภัณฑ์เสื้อโปโล DRY-EX ใช้โพลีเอสเตอร์รีไซเคิล
o 2020FW: ผลิตภัณฑ์ Fluffy Yarn Fleece ใช้โพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 30%
o 2021SS: กระเป๋าคาดเอวใช้ไนลอนรีไซเคิลถึง 30%
- ยูนิโคล่ยังเดินหน้านำเสนอวัสดุอื่นๆ ที่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง อาทิ เส้นใยสังเคราะห์อย่างเรยอนและไนลอน
โครงการด้านการลดขยะ
หันมาใช้แนวคิด “ขยะเป็นศูนย์” (Zero Waste) ตั้งแต่ต้นกระบวนการด้วยการลดการใช้งาน การเปลี่ยนวัสดุ การนำมาใช้ใหม่ และการใช้วัสดุรีไซเคิลในกระบวนการส่งมอบเสื้อผ้าให้แก่ลูกค้า
- ในเดือนกรกฎาคม 2019 ฟาสต์ รีเทลลิ่งกำหนดนโยบายสำหรับบริษัทในเครือทั้งหมดให้เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวโดยไม่จำเป็น
- ตั้งแต่เดือนกันยายน 2019 ถุงช้อปปิ้งพลาสติกได้ถูกเปลี่ยนเป็นถุงกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในเดือนกันยายน 2020 ยูนิโคล่ และ GU เริ่มคิดค่าใช้จ่ายสำหรับถุงกระดาษที่ร้านในญี่ปุ่น โดยลูกค้ากว่า 70% ปฏิเสธไม่รับถุงช้อปปิ้ง
- ตั้งแต่ปี 2019 GU ริเริ่มโครงการในการเก็บราวแขนเสื้อผ้าจากร้านและนำกลับไปให้โรงงานเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่
- ตั้งแต่ปี 2020 บริษัทเริ่มใช้วัสดุชนิดเดียวสำหรับบรรจุภัณฑ์ในการขนส่งสินค้า เพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิลต่อไป
- จาก 2021 สำหรับการรีไซเคิล บรรจุภัณฑ์ บริษัทยังเปิดตัวพื้นที่เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ (proof-of-concept) สำหรับการแยก เก็บ และดำเนินการรีไซเคิลในร้านยูนิโคล่ และ GU บางแห่ง
* บรรจุภัณฑ์ กล่องสำหรับการขนส่ง ถุงพลาสติก ไม้แขวนเสื้อ ฯลฯ
■ โครงการริเริ่ม: ผลิตเสื้อผ้าที่ดีต่อผู้คนและสังคม
ในการผลิตเสื้อผ้าที่ดีที่ลูกค้าจะรักและสวมใส่ได้ในระยะยาวด้วยความไว้วางใจ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ต้องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สามารถปกป้องสุขภาพ ความปลอดภัย และสิทธิมนุษยชนของทุกๆ คน รวมถึง พนักงานของบริษัทและผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการทั้งหมด ด้วยเป้าหมายที่ต้องการจะสร้างสังคมที่ดียิ่งขึ้นร่วมกับลูกค้า ฟาสต์ รีเทลลิ่งยังดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อสร้างความโปร่งใสและการติดตามกลับในกระบวนการผลิต เสริมความโปร่งใสและการตรวจสอบวัตถุดิบ ประเมินและแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน และสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต
- ตั้งแต่ปี 2017 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตีพิมพ์รายชื่อโรงงานคู่ค้าสำคัญในการผลิจ และตั้งแต่ปี 2018 รายชื่อดังกล่าวได้รวมถึงโรงงานทอผ้า นอกจากนี้ ภายในเดือนมีนาคม 2022 บริษัทวางแผนที่จะตีพิมพ์รายชื่อโรงงานคู่ค้าทั้งหมดของบริษัท
- นอกจากการตรวจสอบที่โรงงานผลิตและโรงงานทอผ้า บริษัทยังมุ่งสร้างการติดตามได้ตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่การทอผ้าและวัตถุดิบ ผ่านการเยี่ยมชม ตรวจสอบโดยองค์กรในฐานะบุคคลที่สาม และการรับรองมาตรฐานจากบุคคลที่สาม โดยบริษัทได้ประเมินและแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในการทำงานต่างๆ ตั้งแต่เริ่มมีปัญหา
- ในเดือนกรกฎาคม 2021 บริษัทได้สร้างทีมระดับโลก ซึ่งประกอบด้วยพนักงาน 100 คน ในการเริ่มดำเนินการต่างๆ นับตั้งแต่การเฟ้นหาวัสดุ บริษัทดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงต่างๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
การจัดซื้อวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ
ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ส่งเสริมการจัดซื้อวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ จึงจัดทำนโยบายการจัดซื้อสำหรับวัสดุที่ทำจากพืชและสัตว์ต่างๆ
ส่งเสริมโครงการด้านสังคมทั่วโลก
ดำเนินงานด้านความปลอดภัยและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคม ผ่านการขยายกิจกรรมด้านสังคมระดับโลกผ่านการประกอบธุรกิจเสื้อผ้า
- บริษัทร่วมมือกับ Fast Retailing Foundation และ Yanai Tadashi Foundation ในการขยายกิจกรรมเพื่อสังคมระดับโลก ผ่านธุรกิจเสื้อผ้า
- ภายในปี 2025 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จะสนับสนุบงบประมาณด้านกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มกว่า 10 พันล้านเยน โดยจะดำเนินงานผ่านกิจกรรมระดับภูมิภาค เพื่อสนับสนุนผู้คนกว่า 10 ล้านคน รวมถึงผู้ลี้ภัยและกลุ่มที่มีความเปราะบาง บริษัทยังต้องการบริจาคเสื้อผ้าเป็นจำนวน 10 ล้านชิ้นต่อปี ภายในปี 2025
เร่งดำเนินการด้านความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง
เคารพความแตกต่างและหลากหลายของพนักงาน สร้างที่ทำงานที่พนักงานสามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ
- เพิ่มให้มีผู้บริหารผู้หญิงสูงถึง 50% ของจำนวนผู้บริหารทั้งหมดภายในปีงบประมาณ 2030
- เน้นการสร้างความสามารถให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อบ่มเพาะผู้นำและผู้บริหารรุ่นใหม่
- นอกจากการจ้างงานคนพิการด้านต่างๆ แล้ว ยังออกแบบร้านค้าให้เหมาะสมกับความหลากหลายและขยายผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ส่งเสริมความสะดวกสบายให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม
- เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อกลุ่ม LGBTQ+ ในหมู่พนักงานและลูกค้า