วันเสาร์, พฤศจิกายน 9, 2024
BUSINESS

IPSOS

อิปซอสส์ เผยผลสำรวจวิกฤตโควิด 4 ระลอก ชี้ 80% ของคนไทยระมัดระวังกับจำนวนเงินที่ใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น กระทบต่อกลุ่มสินค้าและธุรกิจ พร้อม 5 สิ่งที่คาดหวังจากภาคธุรกิจภาครัฐ

 

บริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด  (Ipsos (Thailand) Co.,Ltd.)  ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค ผู้ให้บริการงานวิจัยรูปแบบ สร้างสรรค์ชิ้นงานที่ทำการออกแบบเฉพาะรายแบบครบวงจร Customized One Stop Research Solution Service   ที่ได้พัฒนาโมเดลโซลูชั่นการวิจัยพร้อมใช้มากที่สุดถึง 75 โซลูชั่นสำหรับตลาดโลกและ 9 โมเดลโซลูชั่นสำหรับตลาดวิจัยไทย โดย นางสาว อุษณา จันทร์กล่ำ (Usana Chantarklum) กรรมการผู้จัดการ ได้เปิดเผย – ข้อมูลวิจัยชุดพิเศษ “วิกฤตการณ์โควิด 4 ระลอก กับการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และทัศนคติ  ที่ส่งผลกระทบต่อตลาด  เศรษฐกิจ และสังคม พร้อมปัจจัยเพื่อการปรับตัวและวางแนวทางให้กับภาคธุรกิจ และ ภาครัฐ” โดย อิปซอสส์ ได้ทำการศึกษาสถานการณ์นี้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2563 เพื่อให้รับรู้ถึงความคิดเห็นของผู้บริโภค และพฤติกรรมต่างๆ ที่ต้องเผชิญท่ามกลางการแพร่ระบาดในตลาดสำคัญ 6 ประเทศ ในแถบภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงค์โปร์  เวียดนาม และประเทศไทย รวม 6 ประเทศ

 

นางสาวอุษณา เปิดเผยว่า “ผลการศึกษานี้จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบด้านทัศนคติ อารมณ์ และพฤติกรรมการบริโภค ที่อยู่ท่ามกลางแพร่ระบาดของโควิดทั้ง  4 ระลอก พร้อมแนวโน้มอนาคต ที่จะใช้เป็นข้อมูลสำคัญช่วยให้ภาคตลาด ธุรกิจและองค์กรต่างๆ สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนล่วงหน้าให้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการทำวิจัยที่ผสมผสานกับรูปแบบ Desk Research หรือการวิจัยบนโต๊ะจากหลายแหล่ง โดยเน้นการใช้การการวิจัยของตลาดประเทศไทยโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้ภาพรวมของสถานการณ์ตลาดประเทศไทยที่สมบูรณ์ตามความเป็นจริงที่สุด เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจง คู่แข่ง ตลอดจนสภาพแวดล้อม ครอบคลุมหัวข้อ ดังนี้

 

-ทางรอดของธุรกิจ และความคาดหวังของประชาชนจากภาครัฐ

-แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ และสถานการณ์การเงินส่วนบุคคล

-การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้จ่าย ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ

-การระบาดที่กระทบต่อทางสุขภาพจิต และร่างกาย

-วัคซีนที่ล่าช้า และความไม่ชัดเจนของข่าวสาร

 

จากสรุปผลรายงาน พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคตกลงอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด19 ในระลอกที่ 1 ในเดือนมีนาคม 2563  และตกต่ำสุดในระลอก 3 ในปี 2564 ต่อเนื่องกับระลอก 4 โดยความปลอดภัยจากโควิด และความมั่นคงด้านการเงิน เป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกของคนไทย พร้อมการลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมด้านฐานะ เป็นสัญญาณที่ละเอียดอ่อนที่ภาครัฐต้องคำนึง

 

1/3 ของคนไทย มองว่าสถานะด้านการเงินของตนเข้าขั้น “แย่” ชะลอซื้อของชิ้นใหญ่

 

นางสาวอุษณา เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ในส่วนแรกของสรุปผลการศึกษา จะชี้ให้เห็นถึง 5 ความคาดหวังของประชาชนในด้านต่างๆ ที่ต้องการจากภาครัฐ แล 5 สิ่งที่อยากได้จากภาคธุรกิจ อาทิ ความต้องการด้านความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของ โควิด 19 และความมั่นคงด้านการเงิน ความคาดหวังให้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่มีบทบาทร่วมรับผิดชอบต่อสังคม พฤติกรรมการใช้จ่าย และการใช้ชีวิตที่มีการเปลี่ยนอย่างมากและรวดเร็ว ที่ส่งผลต่อกลุ่มสินค้าและภาคธุรกิจ

 

สำหรับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเงินส่วนบุคคล นางสาวอุษณา เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “คนไทยยังมีความกังวลและมีภาพที่ไม่ดีตอสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวม และมีอัตราสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของภูมิภาค ขณะที่ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีอัตราความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศตนสูงสุด ส่วนประเทศอื่นๆ เฝ้าระวังและคาดหวังภาพที่ดี และประมาณ 1/3 ของคนไทย มองว่าสถานะด้านการเงินของตนเข้าขั้น “แย่” ซึ่งไทยถือเป็นสัดส่วนที่ตกต่ำสูงสุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

 

ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ พบว่าการใช้จ่ายของคนไทยในปัจจุบัน จะจ่ายเงินเฉพาะกลุ่มสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น โดยตัดการใช้จ่ายกับสินค้าที่มีมูลค่า เพื่อความสะดวกสบาย เช่น บ้าน รถยนต์ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้มีอัตราลดลงตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด ระลอกที่ 3

 

ทั้งนี้  สัดส่วนพฤติกรรมการจับจ่ายแสดงให้เห็นแตกต่างกันใน 4 ระดับ คือ ซื้อมากขึ้น  / ไม่เปลี่ยนแปลง  / ซื้อน้อยลง  / และ  ไม่ซื้อเลย โดยกลุ่มที่มีการซื้อมากขึ้นอย่างชัดเจน คือ กลุ่มสินค้าเพื่อนำไปประกอบอาหารที่บ้าน  กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล เป็น 3 กลุ่มสินค้าที่มีการซื้อสูงสุด

 

กลุ่มวัตถุดิบเพื่อทำอาหารที่บ้าน      52  : 37 : 10  : 1

กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล                       27 : 55 : 17 : 1

กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด         41 : 47 :11 : 1

เครื่องแต่งกายและรองเท้า                              14 : 45 : 39  : 3

กลุ่มสินค้าอิเล็คทรอนิกส์                              14 : 45 : 36  : 5

ภัตตาคาร-ร้านอาหาร-คาเฟ่                             12 : 33 : 43 : 12

ท่องเที่ยว                                           13 : 29 : 55 : 3

หนังสือ                                                           16 : 43 : 30 : 11

กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม               9 : 41 : 43 : 8

ของเล่น                            9 : 29 : 48 : 14

วีดีโอ เกมส์                                                        16 : 31 : 37 : 16

แอลกอฮอล์                                      20 : 25 : 35 : 20

 

ส่วนความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆ  อาทิ การรวมญาติ ออกไปทานอาหารนอกบ้าน และท่องเที่ยวในประเทศ โดยสัดส่วนของกิจกรรมที่ทำการสำรวจ คือ ไปเยี่ยมญาติและเพื่อนถึงบ้าน 41% ท่องเที่ยวภายในประเทศ  32% ไปภัตตาคาร-ร้านอาหาร 28% ใช้บริการขนส่งมวลชน 26% ไปโรงยิมหรือสถานออกกำลังกาย  24% ร่วมกิจกรรมด้านวัฒนธรรม  22% ท่องเที่ยวต่างประเทศ 20% ตามลำดับ

 

ช็อปปิ้งออนไลน์เฟื่อง ผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคย นิยมใช้จ่ายแบบไร้เงินสด กระแสใหม่ซื้อของผ่ารูปแบบไลฟ์สตรีมมิ้ง  82% เคยได้ยินแนวไลฟ์สตรีมมิ่ง 56% เคยร่วม และ 36% ตัดสินใจซื้อ

 

สำหรับพฤติกรรมการใช้จ่าย การแพร่ระบาดโควิดยาวนานกว่า 18 เดือน ได้เปลี่ยนพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคไปอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มคุ้นเคยกับการช็อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์ และจับจ่ายแบบไร้เงินสด ตลอดจนมีการใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น กิจกรรมที่มีการขยายตัวอย่างมาก คือ การซื้อสินค้าออนไลน์ การใช้จ่ายแบบไร้เงินสดยังร้านค้าต่างๆ มองหางานอดิเรกใหม่ๆ ใช้เวลากับครอบครัว ใช้เวลาบนโซเชียล มีเดีย และการเข้าถึงสตรีมมิ่งคอนเทนต์  (Netflix etc.) เป็นที่น่าสังเกตว่า จากการที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน ก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตกับครอบครัว และการใช้เวลาบนโซเชียล มีเดีย ทำให้กิจกรรม 2 ส่วนนี้มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่สูงขึ้น

 

การวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมในกิจกรรมเหล่านี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยแบ่งระดับเป็น  –  เพิ่มมากขึ้น / ไม่มีการเปลี่ยนแปลง / น้อยกว่าหรือเท่าเดิม / ไม่เคยทำกิจกรรมนี้

 

ซื้อสินค้าออนไลน์                                              49 – 28 – 21 – 3

การใช้จ่ายแบบไร้เงินสดยังร้านค้าต่างๆ                        38 – 40 – 18 – 4

มองหางานอดิเรกใหม่ๆ                                                  37 – 35 – 20 – 8

ใช้เวลากับครอบครัว                                         56 – 30 – 12 -1

สังสรรค์กลุ่มสังคมอื่นๆ เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน           9 – 22 – 55 -15

ใช้เวลาบนโซเชียล มีเดีย                                                63 – 28 – 9 -1

การเข้าถึงสตรีมมิ่ง คอนเทนต์  (Netflix etc.)              42 – 31 – 14 – 14

อ่านหนังสือและแมกกาซีน                                               24 – 39 – 25 – 12

ทำงาน / ศึกษา                                                               18 – 54 – 23 – 5

 

สินค้าขายดี ช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่ง เครื่องแต่งกายและรองเท้า ทิ้งห่างอันดับรอง คือ อาหาร ตามมาด้วยสินค้าในครัวเรือน  เครื่องดื่มมีเพียง 4% ที่นิยมซื้อผ่านช่องทางในรูปแบบนี้

 

สำหรับรูปแบบการช้อปปิ้งแนวไลฟ์สตรีมมิ่ง  เป็นตัวที่มาอุดช่องว่างพร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ในการจับจ่าย  จากการสำรวจความคิดเห็นพบว่า 82% ของประชากรในกลุ่ม SEA เคยได้ยินเกี่ยวกับการช้อปปิ้งในรูปแบบนี้ และ 56% ของคนกลุ่มนี้ เคยเข้าร่วม โดยที่ 14% ของกลุ่มคนที่เข้าร่วมนี้มีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้า และ 36% ตัดสินใจซื้อสินค้า ทั้งนี้ กลุ่มสินค้ายอดฮิตที่มีการจับจ่ายผ่านรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่ง ที่มีการซื้อขายสูงสุด ดังนี้

 

เครื่องแต่งกายและรองเท้า 51% 

อาหาร 15% 

ของใช้ส่วนบุคคลและความงาม 14%  

สินค้าในครัวเรือน  10%  

เครื่องดื่ม  4%   

ของเล่นและเกม 3%   

อื่นๆ   2%

 

ภาพรวมความคาดหวังของประชากรใน SEA จากภาครัฐและภาคธุรกิจ

 

ภาพรวมความคาดหวังจากภาครัฐและภาคธุรกิจของประชากรใน SEA ผลสรุปรายงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนระดับภูมิภาคและความคาดหวังในประเทศไทย  ทั้ง่นี้ ภาพรวมความคิดเห็นของประชากรใน SEA  เกี่ยวกับความมั่นใจในสถานการณ์ด้านการเงินส่วนบุคคล นับเป็นสถิติเฉลี่ย 76%  โดย สิงค์โปร์ มีความมั่นใจ สูงสุด ในอัตรา 83%  ตามมาด้วย เวียดนาม และฟิลิปปินส์  มั่นใจในอัตราเท่ากัน คือ 79% มาเลเซีย 76%  อินโดนีเซีย 75% และ  ประเทศไทย ความมั่นใจในเรื่องการเงินต่ำสุด ในอัตรา 64% (โดยที่คาดการณ์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า  ชาวฟิลิปปินส์จะมีความมั่นใจสูงสุด  ขณะที่ มาเลเซีย อยู่ในอัตราต่ำสุด

 

5 สิ่ง ความคาดหวังจากภาครัฐ และ 5 สิ่ง ความคาดหวังจากภาคธุรกิจ 

เมื่อถามถึงเรื่องเร่งด่วนในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า ประเด็นที่ประชาชนคนไทยคาดหวังสูงสุดจากภาครัฐ  5 อันดับแรก คือ มาตรการป้องกันพนักงานให้ปลอดภัยและพ้นภัยโควิด ควบคุมราคาสินค้าและบริการตลอดจนภาวะเงินเฟ้อ สร้างงานคุ้มครองการจ้างงาน มาตรการการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านการเงินให้ครัวเรือน สร้างงานและคุ้มครองการจ้างงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน ในอัตรา 56% 36% 34% 26% และ 24% ตามลำดับ

 

ส่วน 5 สิ่ง ความคาดหวังจากภาคธุรกิจ หลักๆ คือ ด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจจะต้องนำมาพิจารณา เพื่อเตรียมแผนการรองรับใน 6 เดือนต่อไป โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ ป้องกันพนักงานให้ปลอดภัยและพ้นภัยโควิด ควบคุมราคาสินค้าและบริการ จ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรมให้พนักงาน มีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยการสร้างงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยการอุดหนุนสินค้าของพ่อค้าในท้องที่ ในอัตรา 53% 46% 41% 30% และ 29% ตามลำดับ

 

ความคิดเห็นประชากรในภูมิภาค SEA ต่อบทบาทภาคเอกชนในการร่วมรับผิดชอบสังคม เวียดนามมีอัตราสูงสุด ถึง 96% ไทย 80% มาเลเซีย รั้งท้าย 77%

 

สำหรับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ข้อมูลวิจัยเปิดเผยว่า 80% ของคนไทย มีความเห็นว่าธุรกิจขนาดใหญ่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเหมาะสมตลอดสถานการณ์การแพร่ระบาด จากผลการสอบถามความคิดเห็น เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนในแต่ละประเทศ ต่างมีความเห็นว่า เหล่าธุรกิจขนาดใหญ่มีบทบาทในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมถึงสถานการณ์ช่วงแพร่ระบาดโควิด 19 ดังนี้ เวียดนาม 96% ฟิลิปปินส์ 92% สิงค์โปร์ 86% อินโดนิเซีย 86% ไทย 80% มาเลเซีย 77%

 

โควิด ส่งผลร้ายต่อ สุขภาพทางจิต และร่างกาย

 

ในแง่ของความเจ็บป่วยทางจิต จากการประชาชนต้องอยู่ท่ามกลางผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดมาเป็นเวลายาวนานต่อเนื่อง ส่งผลให้คนไทยมีอัตราเสียสุขภาพจิตอย่างรุนแรง ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ถือเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสังเกตได้จากอัตราการฆ่าตัวตาย เทียบเท่ายุควิกฤตการเงิน ต้มยำกุ้ง ในปี 2540 ยิ่งกว่านี้ความล่าช้าของวัคซีนและข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ตลอดจนข่าวบิดเบือนที่แพร่กระจายขยายวงกว้าง ได้สร้างความเข้าใจผิดในเรื่องผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน กลายเป็นสาเหตุหลักของการลังเลใจในการรับวัคซีน ขณะที่ประเทศต่างๆ พร้อมใจรับการฉีดวัคซีนทันทีที่ให้บริการ แต่ประเทศไทยกลับตรงข้าม เห็นได้จากอัตราความลังเลใจที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ระลอก 3 กับระลอก 4 ที่ 79% และ 69% ติดลบ 10%