หัวเว่ย ผนึกพาร์ทเนอร์ หนุนธุรกิจเอเชียแปซิฟิกมุ่งสู่ความสำเร็จ ด้วยเป้าหมาย Network 2025
ในงานประชุม The Asia Pacific Target Network Conference ที่จัดขึ้น ภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับการรวมประโยชน์จากโครงข่ายแบบระบุเป้าหมาย เพื่อปลดล็อคคุณค่าทางดิจิทัลแห่งอนาคต (Consolidate Elastic Target Network, Unlocking New Digital Value) เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 ท่านจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ผู้ให้บริการเครือข่าย รวมถึงผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์และบริการสำหรับภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมงาน โดยหัวเว่ยได้ร่วมเสวนากับผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำในภูมิภาค เช่น PLDT, Telkom Indonesia, Globe และ CMI ในเรื่องสถาปัตยกรรมโครงข่ายอัจฉริยะแบบระบุเป้าหมาย (intelligent target network) รวมถึงเน้นย้ำให้เห็นถึงคุณค่าของเครือข่ายการส่งข้อมูล
ในวันแรกของการประชุม คุณแกรี่ ลู ประธานฝ่ายการตลาดและโซลูชันโครงข่ายของหัวเว่ย ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Network 2025, Enabling Business Success” ซึ่งเป็นเรื่องของเป้าหมายในอนาคตต่อความสำเร็จของภาคธุรกิจ โดยชี้ให้เห็นว่าอนาคตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เขาจึงเรียกร้องให้อุตสาหกรรม ICT ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อร่วมกำหนดแนวทางความสำเร็จแห่งอนาคตตามแนวทาง Network 2025
โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าก่อให้เกิดความไม่แน่นอนแก่ทุกคนบนโลกอีกครั้ง จากผลสำรวจโดยองค์กรอิสระ ระบุว่าร้อยละ 68 ของผู้นำธุรกิจจัดเรื่องของความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นความเสี่ยงสูงสุด อุตสาหกรรม ICT เองก็เผชิญกับ ความเสี่ยงเช่นกัน เครือข่ายต่าง ๆ ล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด การรับส่งข้อมูล เส้นทางการส่งข้อมูล รวมถึงข้อกำหนดของการบริการซึ่งคาดการณ์ได้ยากขึ้น ซึ่งความไม่แน่นอนทางธุรกิจและเครือข่ายเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดคำถามสองข้อ คือ “เราควรจะลงทุนในธุรกิจอะไร” และ “ที่ไหนคือที่ที่เหมาะสมที่สุดในการเลือกลงทุนเป็นแห่งแรก”
“โชคดีที่เราได้เห็นการทำงานร่วมกันของทั้งภาครัฐ องค์กรอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลก เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต และเพื่อนำความเข้มแข็งของการพัฒนา ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” คุณแกรี่ ลู กล่าว การเดินหน้าไปสู่เทคโนโลยีไฟเบอร์ การใช้ Cloud ในระดับองค์กร และการเดินหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมจะถูกเร่งให้เร็วขึ้น 1 ถึง 3 ปี ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ องค์กรทั้งหลาย และผู้ให้บริการเครือข่ายจึงได้เสนอกลยุทธ์แผนงานระยะกลางถึงระยะยาว โดยมีเป้าหมายเพื่อการใช้เทคโนโลยี ICT ที่ประหยัดพลังงานและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
“NetX2025” หลักแห่งอนาคต โดยมีโครงข่ายเป็นหัวใจสำคัญ
หัวเว่ย ได้เสนอแนวคิด “NetX2025, GUIDE TO THE Future” โดยเป็นการใช้รูปแบบการดำเนินงานที่เรียกว่า GUIDE ซึ่งย่อมาจากหลายมิติทั้ง Gigabit Anywhere (กิกะบิตในทุกที่), Ultra-Automation (อัตโนมัติขั้นสูง), Intelligent Multi-cloud Connection (การเชื่อมต่อเทคโนโลยีคลาวด์หลายตัวแบบอัจฉริยะ), Differentiated Experience (ประสบการณ์ที่แตกต่าง) และ Environmental Harmony (ความกลมเกลียวกับธรรมชาติ) เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างโครงข่าย การวางแผนสำหรับโครงข่ายแบบระบุเป้าหมาย (target network) ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่าย รวมทั้งใช้ความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานทาง ICT เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่จะต้องเผชิญในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น และเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถประสบความสำเร็จในขณะที่ยังดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โครงข่ายถือเป็นหัวใจสำคัญของ NetX2025 สถาปัตยกรรมเครือข่ายนั้นเป็นพื้นฐานสำหรับบริการต่าง ๆ และสถาปัตยกรรมที่ดีจะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ซึ่งจะมี 4 แนวทางสำคัญที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงข่ายแบบระบุเป้าหมาย (target network) สำหรับผู้ให้บริการแบบยกระดับ เพื่อเดินหน้าพัฒนารับมือกับธุรกิจแห่งอนาคตให้ได้ ดังนี้
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Infrastructure): เส้นใยแก้วนำแสง หรือ Optical Fiber เป็นรากฐานของโครงข่ายทั้งหมด ด้วยอุปกรณ์การวางแผนแผง Fiber Grid โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงนี้จะได้รับการพัฒนาเพื่อการให้บริการอย่างสมบูรณ์แบบในอีก 20 ปีข้างหน้า ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยการวางเส้นใยแก้วนำแสงด้วยระยะทางที่สั้นที่สุด พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของการเข้าถึงบริการสำหรับบรอดแบนด์ในบ้าน ในองค์กรธุรกิจ และการให้บริการแบบไร้สายที่มาพร้อมกับกลุ่มผู้ใช้ที่คิดเป็นมูลค่าสูง การจัดการโครงข่ายแบบพาสซีฟนั้น (Passive Network) เป็นหนึ่งในข้อกำหนดที่สำคัญที่สุดของโครงข่ายการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบประจำที่ (Fixed Broadband – FBB) ในโครงข่ายแบบเดิม (Legacy Network) เราไม่สามารถมองเห็นและจัดการเส้นใยแก้วนำแสงนั้นได้เลย อย่างไรก็ตาม โซลูชัน Quick Digital ODN ของหัวเว่ยจะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ด้วยการทำให้มองเห็นโครงข่ายแบบพาสซีฟได้ และยังช่วยยกระดับความแม่นยำและประสิทธิภาพการจัดการและการรักษา (O&M) เส้นใยแก้วนำแสงได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
การวางรากฐานด้วยใยแก้วนำแสงทั้งหมด โครงข่ายใยแก้วนำแสงนับเป็นแกนหลักของโครงข่ายทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงข่ายได้รับการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ แกนหลักของการพัฒนาอย่างโครงข่ายใยแก้วนั้นจะต้องมีการใช้งานที่ไม่หนาแน่น มีความหน่วงต่ำ และมีความเสถียร ทั้งนี้ ยังมีข้อกำหนดสามประการที่จะช่วยตัดสินแนวทางการพัฒนาโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสงและทำให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างรายได้จากข้อตกลงระดับการบริการ (SLAs) ที่แตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย การพัฒนาการเชื่อมต่อที่ใช้ระบบเครือข่ายแบบตาข่ายสามมิติ (3D-Mesh) ที่ทำหน้าที่เสมือนกระดูกสันหลังของโครงข่าย เครือข่ายการส่งข้อมูลด้วยแสง (Optical Transport Network – OTN ) สำหรับเว็บไซต์แบบ edge หรือ metro ที่มีมูลค่าสูง และการเปิดให้เกิดเครือข่ายแบบ Automatically Switched Optical Network (ASON)
ช่องสัญญาณ Converged IP: สถาปัตยกรรม IP ในอนาคตจะต้องมีความเรียบง่าย ยืดหยุ่น และมีความเป็นอัจฉริยะยิ่งขึ้น การพัฒนาเครือข่าย IP จำเป็นจะต้องยึดสามหลักสำคัญดังต่อไปนี้ 1) สถาปัตยกรรมด้าน Fabric architecture ที่มีความเรียบง่ายยิ่งขึ้น 2) การสร้างแพลตฟอร์มบริการครบวงจรที่ปราศจากปัญหาด้านความหนาแน่น (congestion-free) ของข้อมูล โดยในแง่ช่องทางการเข้าถึง Access Layer ควรมีความพร้อมในระดับ 100GE ส่วนในแง่ช่องทางระดับ Aggregation/Core Layer ควรมีความพร้อมในระดับ 400GE และ 3) เปิดใช้งานเทคโนโลยี Segment Routing over IPv6 (SRv6) ที่โหนด A และ Z เพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่าย MPLS ได้อย่างราบรื่น ช่วยย่นระยะเวลาการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด (Time-To-Market หรือ TTM) ให้เหลือแค่ไม่กี่นาที โดยค่าการเชื่อมต่อ (link values) และการใช้งาน SRv6 แบบ hop-by-hop จะค่อย ๆ ช่วยเสริมศักยภาพความเป็นอัตโนมัติให้กับทั้งโครงข่าย และเสริมประสบการณ์เครือข่ายเชิงกำหนดแบบครบวงจรได้
แพลตฟอร์มการจัดการ การควบคุม และการวิเคราะห์แบบอัจฉริยะ: นอกจากอุปกรณ์โครงข่ายแล้ว เทคโนโลยี “สมองอัจฉริยะ (Smart Brain)” ยังคงเป็นที่ต้องการ เพื่อช่วยให้เราสามารถทำให้แนวคิดโครงข่ายการขับขี่แบบไร้คนขับเกิดขึ้นได้จริง และ “สมองอัจฉริยะ” นี้เอง จะเป็นแพลตฟอร์มที่ผสานการจัดการโครงข่าย การควบคุม และการวิเคราะห์ ซึ่งการพัฒนาทั้ง 3 ระยะนั้นประกอบด้วย การเปิดรับและการบูรณาการอย่างง่าย โครงข่ายเครื่องจักรอัตโนมัติ และระบบ O&M แบบอัจฉริยะ
ตลอดปีที่ผ่านมา ด้วยการพัฒนาของโครงข่ายแบบระบุเป้าหมายที่เราได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง และความร่วมมือกับ พาร์ทเนอร์ในระดับโลก หัวเว่ยเข้าใจถึงความซับซ้อนของโครงข่ายการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบประจำที่ (FBB) อย่างแท้จริง นับตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนไปจนถึงการก่อสร้าง นอกจากนี้ แพลตฟอร์มแบบดิจิทัลยังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาโครงข่ายแบบระบุเป้าหมาย เพื่อที่จะเชื่อมโยงธุรกิจและการก่อสร้างโครงข่ายเข้าด้วยกัน แพลตฟอร์มดิจิทัลของหัวเว่ยนั้นได้รับการพัฒนามาจากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมของเราที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน รวมถึงยังมีศักยภาพที่พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมา ดังที่เห็นได้จากหลากหลายผลงาน อาทิ โซลูชัน AirPON ที่ให้ผลการตอบแทนการลงทุนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโครงข่าย
“แนวคิด Network 2025 นี้สามารถเชื่อมโยงการวางโครงข่าย การลงทุนด้านโครงข่าย การพัฒนาการให้บริการและความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ ด้วยความไม่แน่นอนที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ เราควรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในอนาคต ด้วยการปฏิบัติงานตามแนวคิด Network 2025 ไปพร้อมกัน” คุณแกรี่ ลู กล่าว